วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประวิตินายกรัฐมนตรีไทย ตั้ง1-28






                                                                                                                                     
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 1


พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
สมัยที่ 1     28 มิถุนายน 2475 ถึง 9 ธันวาคม 2475
สมัยที่ 2    10 ธันวาคม 2475 ถึง 1 เมษายน 2476
สมัยที่ 3    1 เมษายน 2476 ถึง 20 มิถุนายน 2476
     ประวัติมหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ชื่อเดิมว่า "ก้อน หุตะสิงห์" เกิด วันที่ 15กรกฎาคม 2427 ที่จังหวัดพระนคร บุตรของนายฮวด กับ นางแก้ว หุตะสิงห์ สมรสกับคุณหญิงมโนปกรณ์นิติธาดา (นิตย์ สามเสน) ถึงอสัญกรรม ณ ที่นั้น เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2491 รวมอายุได้64 ปีเศษ การศึกษา วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนอัสสัมชัญวิทยาลัย โรงเรียนกฏหมายกระทรวงยุติธรรม(เนติบัณฑิตสยาม) บทบาททางการเมือง 27-28มิ.ย.2475 ได้มีมติแต่งตั้งพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นประธานคณะกรรมการ ราษฎร ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดในการบริหาร เทียบเท่ากับตําแหน่งนายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน 9 ธ.ค. 2475 ลาออก 10 ธ.ค. 2475 พระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้รับการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญอีกครั้งหนึ่ง 1 เม.ย.2476 แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ โดยมีพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง
                                                                                           
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 2

    พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
สมัยที่ 1    21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ถึง 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476
สมัยที่ 2    16 ธันวาคม พ.ศ. 2476 ถึง 22 กันยายน พ.ศ. 2477
สมัยที่ 3    22 กันยายน พ.ศ. 2477 ถึง 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2480
สมัยที่ 4    9 สิงกาคม พ.ศ. 2480 ถึง 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480
สมัยที่ 5    21 ธันวาคม พ.ศ. 2480 - 11 กันยายน พ.ศ. 2481
     ประวัติ นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา มีนามเดิมว่า "พจน์ พหลโยธิน" เกิดเมื่อวันที่29 มีนาคม พ.ศ. 2430 ณ บ้านหน้าวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนคร เป็นบุตรนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ( ถิ่น พหลโยธิน ) กับคุณหญิงจับ พหลโยธิน สมรสกับ ท่านผู้หญิงบุญหลง พหลพลพยุหเสนา ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์วิสามัญแห่งมหาวิทยาลัยวิชาธรรม ศาสตร์และการเมือง ( ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ) เป็นที่ปรึกษาการทหารสูงสุด หรือดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม ถึงแม้ว่านายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาได้วางมือจากตำแหน่งสูงสุดทางการเมืองแล้ว แต่ในระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่2 ท่านได้ดำรงตำแหน่งมาทัพใหญ่ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2487 ภายหลังจากรัฐบาลของพันตรี ควง อภัยวงศ์ ( คนที่ 3 สมัยที่ 1 ) สัง่ปลด จอมพล ป. พิบูลสงคราม ( หลังจากพ้นตำแหน่งนายกฯ สมัยที่ 2 แล้ว ) ออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2485 ได้รับราช
ทานนยศ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ( ต่อมาใช้ว่า พลเอก พจน์ พหลโยธิน ) วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 ได้รับพระราชทานยศเป็นพลเรือเอกพลอากาศเอก วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2487 พลเอก พจน์ พหลโยธิน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลของนายพันตรี ควง อภัยวงศ์ ( สมัยที่ 1 ) วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2487 ได้รับตำแหน่งเป็นแม่ทัพใหญ่ มีอำนาจสิทธิ์ขาด บังคับบัญชาแม่ทัพบก แม่ทัพเรือและแม่ทัพอากาศ ตลอดจนหน่วยขึ้นและตำรวจสนาม ตามกฎอัยการศึก และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารบกเป็นสมัยที่ 3 หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงแล้ว จึงได้พ้นจากตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 โดยในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2489 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายทหารพิเศษประจำกองทัพบก ผลงานที่สำคัญ ตลอดระยะเวลาที่บริหารประเทศในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต้องเผชิญกับปัญหานานัปการ จนต้องลาออกจากตำแหน่งหลายครั้ง และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งใหม่ รวม 5 สมัย และเป็นแม่ทัพใหญ่ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้รับยกย่องเป็น "เชษฐบุรุษ" เนื่องจากคุณูปการต่อบ้านเมืองเป็นหัวหน้าคณะราษฎรทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองนำระบอบประชาธิปไตยมาสู่ปวงชนชาวไทย และตลอดชีวิตได้รับราชการด้วยความซื่อสัตย์ จนได้รับเคื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งของไทย และ ต่างประเทศ เป็นจำนวนมาก และได้รับพระราชทานสัญญาบัตรยศทหารเป็น พลเอก พลเรือ และ พลอากาศเอก โดยก่อนหน้านี้ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็น พระยาพหลพยุหเสนา และมีตราประจำตระกูลเป็นรูปเสือในกงจักร โดยมีคำขวัญประจำตัวว่า "ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ" อสัญกรรม นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ถึงแก่อสัญกรรมด้วยเส้นโลหิตในสมองแตก เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 รวมอายุได้ 60 ปี (ยศสุดท้ายคือ พลเอก พจน์ พหลโยธิน) รวมระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง 5 สมัย 5 ปี 5 เดือน 21 วัน




นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 3

  จอมพล แปลก พิบูลสงคราม

ระยะเวลาดำรงตำแหน่งสมัยที่ 1     16 ธันวาคม 2481 -6 มีนาคม 2485
สมัยที่ 2     7 มีนาคม 2485 -1 สิงหาคม 2487
สมัยที่ 3     8 เมษายน 2491 - 24 มิถุนายน 2492
สมัยที่ 4     25 มิถุนายน 2492 - 29 พฤศจิกายน 2494
สมัยที่ 5     29 พฤศจิกายน 2494 - 6 ธันวาคม 2494
สมัยที่ 6     6 ธันวาคม 2494 - 23 มีนาคม 2495
สมัยที่ 7     24 มีนาคม 2495 - 26 กุมภาพันธ? 2500
สมัยที่ 8     21 มีนาคม 2500 - 16 กันยายน 2500
     ประวัติ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เกิดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2440 เวลาประมาณ 07.10น. ณ บ้านแพ ปากคลองบางเขน อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เป็นบุตรของนายขีด กับนางสำอาง ขีตตะสังคะ สมรสกับท่านผู้หญิงละเอียด (พันธุ์กระวี) เริ่มการศึกษาที่โรงเรียนกลาโหมอุทิศ วัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี ต่อมาได้ เข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อย ทหารบกจนกระทั่งสำเร็จการศึกษาเมื่ออายุ 19 ปี ได้รับยศร้อยตรี และ
ประจำการที่กองพลที่ 7จังหวัดพิษณุโลก ต่อมาสามารถสอบเข้าโรงเรียนเสนาธิการได้เป็น ที่ 1 และได้ไปศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ประเทศฝรั่งเศส จนสำเร็จการศึกษา และ กลับมารับราชการต่อไป เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 พันตรี หลวงพิบูลสงคราม ได้เข้าร่วมกับคณะราษฎร เปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยเป็นกำลังสำคัญสายทหาร ในปี พ.ศ. 2477 ได้เลื่อนยศเป็นพันเอก และดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบก พันเอก หลวงพิบูลสงคราม เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจากพันเอก พระยา พหลพลพยุหเสนา เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2481โดยการลงมติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งก็ได้เลื่อนยศเป็นพลตรี จนกระทั่งในวันที่ 28 กรกฎาคม 2484 ได้มี พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพลตรีหลวงพิบูลสงคราม เป็นจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ตลอดเวลาที่บริหารประเทศ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ได้สร้างผลงานเกี่ยวกับ นโยบายสร้างชาติและการปลูกฝังความรู้สึกชาตินิยมให้แก่ประชาชนอย่างมากมาย เช่น การเปลี่ยน ชื่อประเทศสยามมาเป็นประเทศไทย การเรียกร้องดินแดนทางด้านอินโดจีนคืนจากฝรั่งเศส การปลูกฝังความนิยมไทย และการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทยบางอย่าง เช่น การให้สตรีเลิกนุ่ง โจงกระเบนแล้วหันมาสวมกระโปรงแทน การให้ประชาชนเลิกกินหมากพลู การตั้งชื่อผู้ชายให้มี ลักษณะเข้มแข็ง ผู้หญิงให้แสดงถึงความอ่อนหวาน การส่งเสริมการศึกษาวิชาการแก่ประชาชน โดยเฉพาะได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเฉพาะวิชา เช่น มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหิดล) มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นต้น เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกในประเทศไทย จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ให้ญี่ปุ่นเดินทัพผ่านไทย และในที่สุดได้ทำสัญญาพันธมิตรทางการทหารและเศรษฐกิจ กับญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผลให้ภายหลังเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เสร็จสิ้นลง จอมพล แปลก พิบูลสงคราม จึงต้องตกเป็นผู้ต้องหาอาชญากรสงคราม และถูกจับกุมคุมขังเป็นเวลาหลายเดือน จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ได้บริหารประเทศมาถึง 8 สมัย จนกระทั่งในวันที่ 16 กันยายน 2500 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้นได้ทำการ รัฐประหาร ทำให้ท่านต้องลี้ภัยการเมืองไปพำนักยังประเทศเขมรเป็นเวลา 2 เดือน และย้ายไป พำนักอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อินเดีย และได้กลับไปพำนักอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น จนกระทั่ง ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคหัวใจวาย ณ บ้านพักที่ตำบลซากามิโอโน ชานกรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2507 รวมอายุได้ 67 ปี




    นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 4

พันตรี ควง อภัยวงศ์
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 
สมัยที่ 1     1 สิงหาคม 2487  - 31 สิงหาคม 2488
สมัยที่ 2     31 มกราคม 2489  - 24 มีนาคม 2489
สมัยที่ 3     10 พฤศจิกายน 2490 - 6 กุมภาพันธ? 2491
สมัยที่ 4     21 กุมภาพันธ์ 2491   - 8 เมษายน 2491
     พันตรี ควง อภัยวงศ์ เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม 2445 ที่เมืองพระตะบอง (ขณะนั้นพระตะบองยังเป็นจังหวัดหนึ่งในมณฑลบูรพาของไทย) เป็นบุตรเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) กับคุณหญิงรอด อภัยวงศ์ หลังจาก พ.ศ. 2450 ไทยต้องยกมณฑลบูรพา เสียมราฐ และพระตระบองให้แก่ประเทศฝรั่งเศส ครอบครัวเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์จึงย้ายมาตั้งหลักแหล่งที่ปราจีนบุรี พันตรีควง อภัยวงศ์เริ่มเรียนหนังสือชั้นประถมต้นที่โรงเรียนอภัยพิทบาตร จังหวัดปราจีนบุรี และโรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ และเรียนชั้นประถมปลายจนถึงมัธยมที่โรงเรียนอัสสัมชัญ หลังจากนั้นสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมโยธา จาก Ecole Centrale de Lyon ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2470 ในระหว่างที่ศึกษาอยู่ ณ ประเทศฝรั่งเศสได้คบค้าสมาคมกับนักศึกษาไทยที่ต่อมามีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองหลายคน เมื่อกลับประเทศไทยได้เริ่มทำงานที่กรมไปรษณีย์โทรเลขจนกระทั่งได้เป็นอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขเมื่อ พ.ศ. 2478 มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงโกวิทอภัยวงศ์ก่อนจะกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์เมื่อ พ.ศ.
2484 และออกมาเป็นนักการเมืองเต็มตัวในเวลาต่อมา พันตรีควง อภัยวงศ์เป็นสมาชิกก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นนักการเมืองที่มีประวัติการทำงานโดดเด่นมากที่สุดคนหนึ่งทั้งเมื่อเป็นรัฐบาลและฝ่ายค้าน พันตรีควง อภัยวงศ์ เคยเป็นนายกรัฐมนตรีถึง 4 สมัย แม้ว่าจะดำรงตำแหน่งในระยะเวลาอันสั้นแต่ก็เป็นช่วงที่บ้านเมืองอยู่ในยามคับขันทุกครั้ง เช่น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้น นอกจากนั้นยังได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ อีกหลายวาระรวมทั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการระหว่างวันที่ 11 - 22 พฤศจิกายน 2490 ด้วยเหตุนี้ พันตรีควง อภัยวงศ์ จึงปรากฏนามในฐานะนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อีกท่านหนึ่ง พันตรีควง อภัยวงศ์ สมรสกับคุณหญิงเลขา อภัยวงศ์ มีบุตร 3 คน คือ นายดิลก อภัยวงศ์ นายคทา อภัยวงศ์ และ เด็กหญิงคลอ อภัยวงศ์ พันตรีควง อภัยวงศ์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2511 อายุ 65 ปี 10เดือน




นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 5

นายทวี บุญยเกตุ
สมัยที่1 31 สิงหาคม 2488 - 17 กันยายน 2488
ประวัติ นายทวี บุญยเกตุ เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2447 เวลา 13.20 น. จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของพระยารณชัยชาญยุทธ์ (ถนอม บุณยเกตุ) กับคุณหญิงรณชัยชาญยุทธ์ (ทับทิม) สมรสกับคุณหญิงอำภาศรี บุณยเกตุ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2514 รวมอายุได้ 67 ปี
การศึกษาโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
โรงเรียนราชวิทยาลัย
คิงส์คอลเลจ ประเทศอังกฤษ
ศึกษาต่อด้านวิชากสิกรรม ที่มหาวิทยาลัยกรีนยอง ประเทศฝรั่งเศส
ประวัติการทำงานพ.ศ. 2475 ได้เข้ารับราชการเป็นข้าราชการบำรุงพันธุ์สัตว์ชั้น 2 กรมเพาะปลูก กระทรวงเกษตราธิการ บทบาททางการเมือง :
พ.ศ. 2475 เข้าร่วมกับคณะราษฎรทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรี(รัฐบาลของ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม) ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(สมัยรัฐบาลของพันตรี ควง อภัยวงศ์) วันที่ 31 สิงหาคม 2488 ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
หลังจากสงครามครั้งที่ 2 จึงลาออก ระยะเวลาในการบริหารประเทศของท่านจึงสั้นเพียง 17 วัน ได้เข้าดำรงตำแหน่งในสภาร่างรัฐธรรมนูญในสมัยรัฐบาลของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยทำหน้าที่เป็นประธานสภา ผลงานที่สำคัญ :
- การต้อนรับคณะนายทหารฝ่ายสัมพันธมิตรที่เดินทางเข้ามาสำรวจความเสียหาย ในประเทศไทย




นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 6

หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง   สมัยที่ 1 : 11 กันยายน พ.ศ. 2488 - 15 ตุลาคม 2488
   สมัยที่ 2 : 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 - 13 มีนาคม พ.ศ.
   สมัยที่ 3 : 20เมษายน พ.ศ. 2519 - 23 กันยายน พ.ศ. 2519
   สมัยที่ 4 : 25กันยายน พ.ศ. 2519 - 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
ประวัติ
     หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เกิดเมื่อวันที่ 20 พฤษภา คม พ.ศ. 2448 ณ บ้านพักกรมทหาร จังหวัดนครสวรรค์ เป็นโอรสใน พลโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ กับหม่อมแดง (บุนนาค) สมรสกับท่านผู้หญิงอุศนา ปราโมช พลโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ ประสูติเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2415 มีพระนามว่า หม่อมเจ้าชายคำรบ เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธานุภาพ (พระนามเดิมคือ พระองค์เจ้าชายปราโมช ทรงเป็นต้นสกุล ปราโมช) ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 กับเจ้าจอมมารดาอัมพา ในปี พ.ศ. 2464 หม่อมเจ้าชายคำรบได้รับการสถาปนาเป็น "พระองค์เจ้าคำรบ" ในสมัยรัชกาลที่ 6 และเป็นนายพลโท บังคับการกองพลทหารบก แล้วเป็นอธิบดีกรมตำรวจพระนครบาลและตำรวจภูธร สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2482 พระชันษา 68 ปี มีโอรสธิดา 5 คน
ผลงานที่สำคัญม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนักการเมืองที่มีความสามารถสูง เคร่งครัดในหลักวิชา และเป็นสุภาพบุรุษผู้ไม่ยอมเล่นนอกกติกา แต่เมื่อดำเนินการอภิปรายในสภาฯก็เป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นผู้ที่มีสำนวนวาจาคมคาย ประกอบด้วยเหตุผลและหลักการเป็นคนพูดอย่างตรงไปตรงมาไม่มีเล่ห์เหลี่ยม เป็นนักการเมืองที่ไม่มีพิธีรีดองในการพบปะ หรือให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน การประกาศไม่ยอมสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตราบที่ยังมี ส.ส. ประเภท 2 ดังกล่าว มาแล้วข้างต้น จนถึงกับได้รับการขนานนามว่า "ฤาษี" และว่างเว้นจากบทบาททางการเมืองเป็นเวลากว่า 20 ปี ก่อนที่กลับเข้าดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้ง และกลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อการเมืองไทยมีประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ แสดงให้เห็นว่าท่านเป็นนักประชาธิปไตยที่เคร่งครัดต่อหลักการอย่างแท้จริง ในการหมุนเวียนเข้าดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี 4 ครั้ง ได้สร้างผลงานที่สำคัญเอาไว้หลายประการ โดยเฉพาะในการเจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตรจนประเทศไทยไม่ต้องตกอยู่ในฐานะประเทศแพ้สงคราม และถูกยึดครอง หรือ อยู่ในอาณัติของ ประเทศอังกฤษ ทั้งนี้การเป็นหัวหน้าคณะเสรีไทยในสายต่างประเทศ และการปฎิบัติ งานของขบวนการเสรีไทยทั้งในและต่างประเทศ มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการที่ช่วยให้เจรจาประสบผลสำเร็จ ทำให้ประเทศไทยมีเอกราชอธิปไตย เปลี่ยนสถานะจากประเทศแพ้สงครามมาเป็นฝ่ายชนะ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นอกจากจะเป็นนักการเมืองระดับหัวหน้าพรรคและนายกรัฐมนตรีแล้ว ท่านยังเป็นศิลปินที่วาดภาพได้สวยงาม และเป็นนักดนตรีที่เล่นเปียโนได้ไพเราะจับใจ อีกทั้งเป็นนักกฎหมาย เป็นอาจารย์สอนทางด้านกฎหมายที่มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย
การอสัญกรรมม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 เวลา 04.15 น. ณ โรงพยาบาลกรุงเทพ อายุ 92 ปีเศษ รวมระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 4 สมัย 10 เดือน 13 วัน





  นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 7

นายปรีดี  พนมยงค์
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
สมัยที่ 1 :  24 มีนาคม 2489 - 1 มิถุนายน 2489
สมัยที่ 2 :  11 มิถุนายน 2489 - 21 สิงหาคม 2489
ประวัติ
     นายปรีดี พนมยงค์ เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2443 ที่ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายเสียง กับ นางลูกจันทร์ พนมยงค์ สมรสกับท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์
เริ่มการศึกษาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม สอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตสยาม เมื่ออายุเพียง 19 ปี
ในปี พ.ศ. 2563 ได้รับทุนไปศึกษาต่อวิชากฎหมายที่ประเทศฝรั่งเศส โดยศึกษาภาษาฝรั่งเศสและความรู้ทั่วไปที่วิทยาลัยกอง (Lycee Caen) และศึกษากฎหมายที่มหาวิทยาลัยกอง (Caen) ได้รับปริญยาทางกฎหมายและได้ "ลิซองซิเอ ทางกฎหมาย" จากนั้นศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยปารีส ได้ดุษฏีบัณฑิตทางกฎหมาย (Docteur en Droit) ฝ่ายเนติศาสตร์ และประกาศนียบัตรชั้นสูงทางเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยปารีส
ในระหว่างที่ศึกษาอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส ได้รับเลือกเป็นสภานายกแห่งสมาคมนักเรียนไทยในประเทศฝรั่งเศส เมื่อเดินทางกลับประเทศไทย นายปรีดี พนมยงค์ ได้เข้ารับราชการเป็นผู้พิพากษาในกระทรวง
ยุติธรรมเมื่อปี พ.ศ. 2469 แล้วย้ายไปเป็นเลขานุการกรมร่างกฎหมาย และเป็นอาจารย์สอนกฎหมายปกครองในโรงเรียนกฎหมายจนกระทั่งได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นอำมาตย์ตรีหลวงประดิษฐ์มนูธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2472 นายปรีดี พนมยงค์ เป็นบุคคลสำคัญในการก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 และได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวในครั้งนั้น ในปี พ.ศ. 2476 ได้ร่างเค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติขึ้นเสนอรัฐบาล แต่ไม่ได้รับความเห็นชอบและถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ นายปรีดี พนมยงค์ จึงต้องเดินทางออกนอกประเทศ ภายหลังเมื่อ พันเอก พระยาพหลพลหยุหเสนาทำรัฐประหาร เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2476 รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการในคณะหนึ่งเพื่อสอบสวนว่า นายปรีดี พนมยงค์ เป็นคอมมิวนิสต์หรือไม่ ผลการสอบสวนปรากฏว่า นายปรีดี พนมยงค์ ไม่มีมลทิน และนายปรีดี พนมยงค์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาลของพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ในด้านการศึกษา นายปรีดี พนมยงค์ ได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาตร์และการเมือง และดำรงตำแหน่งผู้ประศาสน์การของมหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นคนแรก ในขณะที่เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา เมื่อปี พ.ศ. 2484 นายปรีดี พนมยงค์ ถูกกันให้พ้นจากตำแหน่งทางการเมือง และได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และในขณะที่สงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังดำเนินอยู่ นายปรีดี พนมยงค์ ได้ก่อตั้งขบวนการเสรีไทยในประเทศ ติดต่อประสานงานกับขบวนการเสรีไทยภายนอกประเทศ ภายใต้การนำของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เพื่อต่อต้านญี่ปุ่นอย่างลับๆ จนกระทั่งสงครามสิ้นสุดลง นายปรีดี พนมยงค์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐบุรุษอาวุโส และร่วมกับหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ดำเนินการประกาศว่า การที่รัฐบาลไทยประกาศสงครามกับอเมริกาและอังกฤษเป็นโมฆะ และได้หาทางผ่อนคลายสัญญาสมบูรณ์ที่ผูกมัดไทย เนื่องจากผลของการแพ้สงคราม




นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 8

   พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงณ์นาวาสวัสดิ์
สมัยที่ 1 : 23 สิงหาคม พ.ศ.2489 - 30 พฤษภาคม พ.ศ.2490
สมัยที่ 2 : 30 พฤษภาคม - 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2490
ด้านครอบครัว
      พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ มีนามเดิมว่าถวัลย์ ธารีสวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2444 ณ ตำบลหัวรอ อำเภอรอบกรุง(ปัจจุบันคือ อำเภอพระนครศรีอยุธยา) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรนายอู๋ กับนางเงิน ธารีสวัสดิ์ สมรสกับคุณแฉล้ม,คุณระเบียบ และคุณบรรจง สุมาวงศ์
ผลงานที่สำคัญผลงานที่สำคัญของพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ได้แก่การจัดตั้งองค์การสรรพาหารเพื่อแก้ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ แม้ว่าการดำเนินงานจะไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ก็ตาม ทั้งนี้เพราะเกิดจาก เล่ห์เหลี่ยมของบรรดาพ่อค้าและนักการเมืองฉ้อฉลบางพวก นอกจากนี้ท่านยังมีผลงานโดดเด่น หลายประการ เช่นการนำต้นศรีมหาโพธิจากประเทศอินเดีย มาปลูกที่วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน และครั้งหนึ่งเคยเจรจากับญี่ปุ่นจนไม่กล้าเกณฑ์ทหารไทยไปช่วยรบเพราะเกรงจะต้องหาคนมา- ช่วยฝ่ายไทยทำไร่ไถนา หลังจากเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 พลเรือตรีถวัลย์ ต้องเดินทางไปฮ่องกง ระยะหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อสังเกตว่าการรัฐประหารครั้งนั้นมุ่งหมายไปที่นายปรีดี พนมยงค์ คู่แข่งคนสำคัญ ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งท่านก็ต้องออกเดินทางไปนอกประเทศเหมือนกัน และหลังจากเหตุการณ์เข้าสู่สภาวะปกติ ท่านก็เดินทางกลับประเทศ นับว่าโชคดีกว่านักการเมืองหลายท่าน ซึ่งออกจากประเทศไปแล้วต้องจบชีวิตในต่าง




   นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 9

  นายพจน์ สารสิน
สมัยที่ 1 : 21 กันยายน 2500 - 26 ธันวาคม 2500
     นายพจน์ สารสิน เกิดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2448 ที่บ้านพักถนนสุรศักดิ์ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของพระยาสารสินสวามิภักดิ์ (เทียนฮี้) กับคุณหญิงสุ่น สมรสกับคุณหญิงศิริ สารสิน ศึกษาที่สหรัฐอเมริกาตั้งแต่วัยเยาว์ เมื่อกลับสู่ประเทศไทยเข้าเรียนวิชากฎหมาย จนสอบได้เนติบัณฑิตไทยเมื่อปี พ.ศ. 2472 และศึกษาวิชากฎหมายในประเทศอังกฤษ ประวัติทางการเมือง นายพจน์ สารสิน เริ่มบทบาททางการเมืองด้วยการสนับสนุนของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา เมื่อปี พ.ศ. 2490 และเข้าร่วมรัฐบาลในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศในปี พ.ศ. 2491 และต่อมาในปี พ.ศ. 2492 ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แต่ภายหลังได้ลาออกเนื่องจากมีความเห็นขัดแย้งกับรัฐบาลเกี่ยวกับการรับรอง รัฐบาลเบาได๋ แห่งเวียดนามใต้ ระหว่างปี พ.ศ. 2495 - พ.ศ. 2500 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกาและทำหน้าที่ผู้แทนของประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ และในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2500 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ส.ป.อ.) นายพจน์ สารสิน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2500 หลังจากการทำรัฐประหารของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ภารกิจสำคัญของรัฐบาลคือจะต้องเร่งจัดการ เลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรให้บริสุทธิ์และยุติธรรมอันเป็นสิ่งที่ประชาชนเรียกร้อง และเป็นเหตุผลที่จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ใช้เป็นข้ออ้างในการ ยึดอำนาจจากรัฐบาลชุดเก่า หลังจากที่ได้ดำเนินการจัดการเลือกตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว นายพจน์ สารสิน ก็ลาออกจาก
ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และกลับไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ส.ป.อ. ตามเดิม หลังชีวิตราชการท่านพำนักอยู่ที่บ้านพักในกรุงเทพมหานคร และยุติบทบาททางการเมืองโดยสิ้นเชิง จนถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2543 รวมอายุได้ 95 ปีเศษ




นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 10

  จอมพลถนอม  กิตติขจร
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
สมัยที่ 1 :  1 มกราคม 2501 - 20 ตุลาคม 2501
สมัยที่ 2 :  9 ธันวาคม 2506 - 7 มีนาคม 2512
สมัยที่ 3 :  7 มีนาคม 2512 - 17 พฤศจิกายน 2514
สมัยที่ 4 :  18 พฤศจิกายน 2514 - 17 ธันวาคม 2515
สมัยที่ 5 :  18 ธันวาคม 2515 - 14 ตุลาคม 2516
     ประวัติ
     จอมพล ถนอม กิตติขจร เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2454 ณ บ้านหนองพลวง อำเภอเมือง จังหวัดตาก เป็นบุตรของขุนโสภิตบรรณารักษ์ (นายอำพัน กิตติขจร) และนางโสภิตบรรณารักษ์ (ลิ้นจี่) สมรสกับท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร จอมพล ถนอม กิตติขจร เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนประชาบาลวัดโคกพลู จังหวัดตาก หลังจากนั้น ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก และในระหว่างรับราชการได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนแผนที่ทหาร กองทัพบก โรงเรียนทหารราบ กองทัพบก และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นที่ 1) ตามลำดับ รับราชการครั้งแรกในตำแหน่งผู้บังคับหมวดกรมทหารราบที่ 8 กองพันที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่
ต่อมาได้ร่วมก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 ในขณะที่มียศเป็นร้อยโท ตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารบกที่ 11 ต่อมาได้เป็นรองผู้บัญชาการกองพลที่ 1 ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รองผู้บัญชาการภาคทหารบกที่ 1 และแม่ทัพกองทัพภาคที่ 1 มาโดยลำดับ จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลของนายพจน์ สารสิน จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้รับการซาวเสียงจากสภาผู้แทนราษฎรให้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 10 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2501 บริหารประเทศได้ 9 เดือนเศษก็ลาออกจากตำแหน่งเพื่อเปิดทางให้ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ถึงแก่อสัญกรรม จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงระยะเวลาที่จอมพล ถนอม กิตติขจร บริหารประเทศได้สร้างทางหลวงสายต่างๆ ทั่งประเทศหลายสาย สร้างเขื่อน อาทิ เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนอุบลรัตน์ นอกจากนี้ท่านยังได้ทำการปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัยทัดเทียมกับนานาประเทศ และในปี พ.ศ. 2508 ได้ส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเวียดนามด้วย ในปี 2514 จอมพลถนอมได้ทำรัฐประหารตัวเอง และจัดตั้งสภาบริหารคณะปฏิวัติขึ้น จนกระทั่งมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2515 และสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามธรรมนูญการปกครองดังกล่าวได้มีมติให้ จอมพล ถนอม เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป จอมพล ถนอม กิตติขจร ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516 อันเนื่องมาจากเหตุการณ์เรียกร้องรัฐธรรมนูญของกลุ่มนิสิต นักศึกษา และเกิดเหตุการณ์ไม่สงบเรียบร้อยขึ้นภายในประเทศ จึงเดินทางออกนอกประเทศเพื่อให้สถานการณ์คลี่คลาย รวมระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีทั้งสิ้น 10 ปี 6 เดือนเศษ ปัจจุบันท่านพำนักอยู่ที่บ้านพักในกรุงเทพมหานคร และได้ยุติบทบาททางการเมืองแล้ว




นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 11

นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 11
สมัยที่ 1 :9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2502 - 8 ธันวาคม พ.ศ.2506
ด้านครอบครัว
     จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เกิดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2451 ณ บ้านท่าโรงยา ตำบลพาหุรัด จังหวัดพระนคร เป็นบุตรพันตรีหลวงเรืองเดชอนันต์(ทองดี ธนะรัชต์) กับนางจันทิพย์ ธนะรัชต์ เมื่อเยาว์วัยได้ติดตามมารดาไปเรียนระดับประถมที่จังหวัดมุกดาหาร จากนั้นไปศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดมหรรณพาราม กรุงเทพฯ และเข้าเรียนต่อโรงเรียนนายร้อยทหารบก สมรสกับคุณนวลจันทร์ ธนะรัชต์ และต่อมาได้สมรสกับท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์ ชีวิตราชการ ได้รับพระราชทานยศสูงสุดเป็นจอมพลทหารบก จอมพลทหารอากาศจอมพลทหารเรือ และพลตำรวจเอก และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คนที่ 11 ของประเทศไทย
ผลงานที่สำคัญจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีฉายาว่า จอมพลผ้าขาวม้าแดงนับเป็นนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง ที่อยู่ในความทรงจำของคนไทย เพราะตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง และมีบทบาท ท่านได้ใช้มาตรการ เบ็ดเสร็จ เด็ดขาด เพื่อจัดการความสงบเรียบร้อยของประเทศ เช่นประหารชีวิตเจ้าของบ้านทันที หลังจากบ้านใดเกิดเพลิงไหม้ เพราะถือว่าเป็นการก่อความไม่สงบ การใช้รัฐธรรมนูญมาตรา 17 การปราบปรามการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ อีกทั้งยังเป็นผู้ที่รื้อฟื้นกิจกรรมที่แสดงออกถึงความจงรักภักดี ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่นจัดงานเฉลิมฉลองวันพระราชสมภพ การสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ การประดับไฟบนถนนราชดำเนิน ในวันเฉลิมพระชนม์พรรษาเป็นต้น
ในช่วงที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่ง ท่านเป็นเจ้าของคำพูดที่ว่า "ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว" และ พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการนักประวัติศาสตร์ทางการเมืองถือว่าเป็นสมัยเผด็จการ เพราะไม่มีสภาผู้แทนราษฎร ไม่มี ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้ง และไม่มีกลไกควบคุมรัฐบาล นายกรัฐมนตรีมีอำนาจเบ็ดเสร็จ สามารถใช้อำนาจในทางนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการได้เอง รัฐบาลได้ออกแถลงการอยู่เนื่องๆ โดยใช้ข้อความว่า "คณะปฏิวัติและรัฐบาลนี้" ควบคู่กันไป และได้แทรกแซงอำนาจตุลาการ โดยสั่งประหารชีวิต ผู้ต้องหาในหลายคดี ในยุคนี้ บรรดาพ่อค้านายทุนไม่มีใครกล้ากักตุนหรือขึ้นราคาสินค้า เพราะกลัวมาตรการขั้นเด็ดขาดของรัฐบาล แต่ในภาพรวมถือว่าประเทศมีการพัฒนามากขึ้น เช่น มีการกระจายความเจริญออกไปสู่ภูมิภาคมากขึ้น จนถึงกับมีการตั้งมหาวิทยาลัยในต่างจังหวัด ออกพระราชบัญญัติสภาการศึกษาแห่งชาติ โดยเป็นการขยายการศึกษาภาคบังคับจากป.4 ขึ้นเป็นป.7 มีการออกกฎหมายเลิกการเสพและจำหน่ายฝิ่นเด็ดขาด โดยรัฐบาลได้ทำการเผาฝิ่น เครื่องมือและเครื่องมืออุปกรณ์การสูบที่สนามหลวง นอกจากนี้ยังมีการออกกฎหมายปราบปรามพวกนักเลง อันธพาล กฎหมายปราบปรามการค้าประเวณี และที่สำคัญที่สุดคือการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2506 เวลา 17.05 น. ณ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า รวมอายุได้ 55 ปี นับเป็นนายกรัฐมนตรีคนเดียวที่เสียชีวิตในขณะดำรงตำแหน่ง



นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 12
 
สมัยที่ 1 : 14 ตุลาคม 2516 - 15 กุมภาพันธ์ 2518
     นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2450 ที่บ้านข้างวัดอรุณราชวราราม บางกอกใหญ่ ธนบุรี เป็นบุตรของมหาอำมาตย์ตรี พระยาธรรมสารเวทย์วิเศษภักดี (ทองดี ธรรมศักดิ์) กับคุณหญิงชื้น ธรรมศักดิ์ สมรสกับท่าน ผู้หญิงพงา ธรรมศักดิ์ นายสัญญา เริ่มการศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียน กฎหมายกระทรวงยุติธรรม สอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตไทยเมื่อปี พ.ศ. 2471 และได้ทุนเล่าเรียน ของระพีมูลนิธิไปศึกษาวิชากฎหมายต่อที่สำนัก Middle Temple ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา 3 ปี จนสำเร็จเนติบัณฑิตอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2476 นายสัญญา เริ่มชีวิตราชการในตำแหน่งผู้พิพากษาฝึกหัด กระทรวงยุติธรรม จากนั้นก็มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ข้าหลวง ยุติธรรมภาค 4 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเชียงใหม่ ปลัดกระทรวง ยุติธรรม ผู้พิพากษา ศาลฎีกา ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ และประธานศาลฎีกา ตามลำดับ ภายหลังจากเกษียณอายุราชการแล้วในปี พ.ศ. 2511 ก็ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี และในปีเดียวกันนี้ก็ได้เป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย และต่อมาได้รับตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากจอมพลถนอม กิตติขจร ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเดินทาง ออกไปนอกประเทศ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรม ราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในขณะที่นายสัญญาธรรมศักดิ์ ดำรงตำแหน่งเป็นช่วงที่ นิสิต นักศึกษาและกลุ่มพลัง ต่าง ๆ ได้เรียกร้องและสร้างความกดดันต่อรัฐบาลโดยตลอด จนกระทั่งนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปคราวหนึ่งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2517 แต่ได้รับการ ยืนยันจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ดำรงตำแหน่งต่อไปอีกครั้งหนึ่งจนกระทั่งการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญของรัฐบาลได้เสร็จสิ้นลง คณะรัฐบาลของนาย
สัญญา ธรรมศักดิ์ จึงได้สิ้นสุด ลงเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2518 หลังจากนั้นนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรีเรื่อยมาจนกระทั่งเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2541 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้กราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งประธานองคมนตรี เนื่องจากสุขภาพไม่อำนวย แต่ยังคง ดำรงตำแหน่งองคมนตรีเช่นเดิมจนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2545 รวมอายุได้ 95 ปีนาสัญญา  ธรรมศักดิ์






นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 13

   หม่อมราชวงค์คึกฤทธิ์ ปราโมช
สมัยที่ 1 : 14 มีนาคม 2518 พ้นตำแหน่งวันที่ 20 เมษายน 2519
      พลตรี หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช เกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2454 เมื่อเวลา 07.20 น. ในเรือ ที่ลอยอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลบ้านม้า อำเภออินทบุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นโอรสของพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าคำรบ กับหม่อมแดง (บุนนาค) เริ่มการศึกษาชั้นต้น ที่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (วังหลัง) โรงเรียนสวนกุหลาบ วิทยาลัย จากนั้นไปศึกษาต่อที่โรงเรียน Trent College และศึกษาวิชาปรัชญาเศรษฐศาสตร์ และการเมืองที่ The Queen’s College มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ สำเร็จ ปริญญาตรีเกียรตินิยม และปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ต่อมาได้รับปริญญา วารสารศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เริ่มเข้ารับราชการที่กรมสรรพากร ซึ่งต่อมา เป็นเลขานุการที่ปรึกษากระทรวงการคลัง และเข้าทำงานเป็นผู้จัดการธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาลำปาง เมื่อเกิดสงครามอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา ได้เข้ารับราชการทหาร ได้รับยศนายสิบตรี ต่อจากนั้นรัฐบาลได้ตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้น หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ได้เข้าทำงานเป็นหัวหน้าฝ่ายสำนักผู้ว่าการและหัวหน้าฝ่ายออกบัตรธนาคารแห่ง ประเทศไทย และยังเคยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนยศเป็นพลตรี (ทหารราชองครักษ์พิเศษ) เมื่อปี พ.ศ. 2531 หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งพรรคการเมืองพรรคแรก ในเมืองไทยชื่อ "พรรคก้าวหน้า" เมื่อประมาณ พ.ศ. 2488 - 2489 ต่อจากนั้นได้ร่วมใน คณะผู้ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ และได้ริเริ่มจัดตั้ง พรรคกิจสังคม ในการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2518 หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรในเขตพระนคร ผลการ
เลือกตั้งครั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์ได้รับเสียง ข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร จึงได้ดำเนินการจัดตั้งรัฐบาล แต่ไม่สามารถเข้าบริหารประเทศ ได้ เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรไม่ให้ความเห็นชอบตามนโยบายพรรคกิจสังคมซึ่งมีสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร 18 คน โดยการนำของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช จึงได้จัดตั้ง รัฐบาลผสมขึ้น และได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2518 ในขณะที่บริหารประเทศ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ดำเนินการเปิดสัมพันธ์ ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเดินทางไปเยือนกรุงปักกิ่ง ตามนโยบายการอยู่ ร่วมกันอย่างสันติ และเป็นมิตรกับทุกประเทศที่มีเจตนาดีต่อประเทศไทย โดยไม่คำนึงถึงความ แตกต่างทางอุดมการณ์ทางการเมืองในด้านการพัฒนาประเทศ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เริ่มโครงการผันเงินสู่ชนบท เพื่อปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่และสร้างงานในชนบท โดยการ ผันเงินจากงบประมาณรายจ่าย เพื่อปรับปรุงและสร้างสิ่งสาธารณูปโภคที่จำเป็นในชนบท มีผลให้ประชาชนในชนบทมีงานทำและมี รายได้ เป็นการยก ฐานะทางเศรษฐกิจของชาวชนบท ให้ดีขึ้น และส่งเสริมการพัฒนาสภาตำบลอย่างจริงจัง รวมทั้งจัดให้มีโครงการช่วยเหลือ ผู้มีรายได้น้อย และได้ดำเนินการซื้อสัมปทานเดินรถของเอกชนมารวมเป็นของรัฐบาลภายใต้ การดำเนินงานขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ จากการที่รัฐบาลของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นรัฐบาลผสมหลายพรรค จึงทำให้รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพเท่าที่ควร ต้องเผชิญกับปัญหาทางการเมืองหลายประการ ในที่สุดหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช จึงได้ตัดสินใจยุบสภา ผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2519 รวมระยะเวลาที่บริหารประเทศประมาณ 9 เดือนเศษ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคกิจสังคม และได้ยุติบทบาททาง การเมือง และใช้ชีวิตสงบเงียบ ณ บ้านพักซอยสวนพลู กรุงเทพมหานคร นอกจากบางโอกาสที่จะออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองโดยการให้สัมภาษณ์หรือ โดยการเขียนบทความลงในคอลัมน์ "ซอยสวนพลู" พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2538 ณ โรงพยาบาลสมิติเวช รวมอายุได้ 84 ปีเศษ




นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 14

นายธานินท์    ไกรวิเชียร
สมัยที่ 1 : 8 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520
     นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2470 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายแห กับนางผะอบ กรัยวิเชียร สมรสกับคุณหญิงคาเรน กรัยวิเชียร (นามเดิม นางสาวคาเรน แอนเดอเซ่น) นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบ วิทยาลัย และศึกษาวิชากฎหมาย ที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง สำเร็จได้รับ ปริญญาธรรมศาสตร์บัณฑิตเมื่อปี พ.ศ. 2491 จากนั้นจึงเดินทางไปศึกษาวิชากฎหมายต่อ ณ มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้รับปริญญานิติศาสตร์บัณฑิต เมื่อปี พ.ศ. 2496 และสำเร็จวิชากฎหมายได้รับเรียกเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษจากสำนักอบรมศึกษากฎหมายของ เนติบัณฑิตยสภา สำนักเกรย์สอินน์ ประเทศอังกฤษ ในปีต่อมา เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้กลับมารับราชการใน กระทรวงยุติธรรม ตำแหน่งผู้ช่วย ผู้พิพากษา และตำแหน่งสูงสุดที่ได้รับในเวลาต่อมา คือ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา และในขณะเดียวกันก็เป็นศาสตราจารย์สอนวิชากฎหมาย ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักอบรมศึกษากฎหมายของ เนติบัณฑิตยสภา ฯลฯ ด้วย นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 14 ภายหลังจาก ที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินโดยการนำของ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ร.น. ได้ทำการ รัฐประหารรัฐบาลของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 การดำเนินงานที่สำคัญในขณะที่นายธานินทร์ กรัยวิเชียร บริหารประเทศ ได้แก่ การสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชในท้องถิ่นทุรกันดาร 20 แห่ง เพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงอภิเษกสมรส การจัดให้มีโครงการอาสา พัฒนาท้องถิ่นของตนเองในฤดูแล้งและโครงการอาสาปลูกป่าในฤดูฝน เป็นต้น
ในระยะที่บริหารประเทศอยู่นั้น ได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่สำคัญหลายครั้ง และต่อมาคณะปฏิรูปการ ปกครองแผ่นดินซึ่งนำโดย พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ ร.น. ทำการ รัฐประหารอีกครั้งเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2520 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร จึงพ้นจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ท่านดำรงตำแหน่งองคมนตรี มาจนถึงปัจจุบัน




นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 15


ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
สมัยที่ 1 : 11 พฤศจิกายน 2520 - 21 ธันวาคม 2521
สมัยที่ 2 : 12 พฤษภาคม 2522  -    3 มีนาคม 2523
      ประวัติ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2460 เป็นบุตรของ นายแจ่ม กันนางเจือ ชมะนันทน์ สมรสกับคุณหญิงวิรัตน์ ชมะนันทน์ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย โรงเรียนปทุมคงคาจากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จนสำเร็จการศึกษา ในปี 2483 ในระหว่างรับราชการทหารได้ศึกษาต่อที่ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก โรงเรียน เสนาธิการทหารบกแห่งสหรัฐอเมริกา วิทยาลัยกองทัพบก และ วิทยาลัยปัองกันราชอาณาจักร รุ่น ๕ ในช่วงที่รับราชการทหาร พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์เคยร่วมรบในสมรภูมิ เกาหลีรุ่นแรก ในตำแหน่งผู้บังคับกองพันทหารราบ ผลัดที่ 3 สร้างเกียรติภูมิอย่างมาก จนหน่วยใต้บังคับบัญชาได้ฉายาว่า "กองพันพยัคฆ์น้อย" ภายหลังกลับจากสงครามก็เข้า ประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด เติบโตในสายเสนาธิการมาเป็นลำดับจนเป็นพลเอก และ ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดจนเกษียณอายุราชการ พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากคณะปฏิรูป การปกครองแผ่นดินภายใต้ การนำของ พล.ร.อ.สงัด ชลอยู่ ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาล ของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ผลงานสำคัญในช่วงที่พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ดำรงตำแหน่งคือการ ปรับปรุงสัมพันธภาพกับประเทศเพื่อนบ้านอันประกอบด้วย ประเทศเวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า รวมทั้งพลเอก เกรียงศักดิ์ ได้เดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาชน
จีนและสหภาพ โซเวียตเพื่อกระชับความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจทั้งสอง ทำให้ไทยมีความสัมพันธ์ทาง การทูตและการค้ากับทั้งสองประเทศแน่นแฟ้นขึ้น นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งหน่วยงานสำคัญ ๆ เพิ่มขึ้นอีกหลายหน่วยงาน เช่น การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการพลังงาน และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นต้น พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2523 ปัจจุบันได้ยุติบทบาททางการเมืองแล้ว




นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 16

พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
สมัยที่ 1 :    3 มีนาคม 2523 - 19 มีนาคม 2526
สมัยที่ 2 :  30 เมษายน 2526 - 4 สิงหาคม 2529
สมัยที่ 3 :    5 สิงหาคม 2529 - 3 สิงหาคม 2531
    พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2463 ที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นบุตรคนที่ 6 ของอำมาตย์โท หลวงวินิจฑัณทกรรม กับนางออด ติณสูลานนท์
    พลเอก เปรม เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนวัดบ่อยาง และศึกษาต่อที่โรงเรียนวชิราวุธ จังหวัดสงขลา จากนั้นเข้ามาศึกษาต่อในกรุงเทพมหานครที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียน เทคนิคทหารบก โรงเรียนทหารม้าศูนย์การทหารม้า โรงเรียนยานเกราะ กองทัพบกสหรัฐอเมริกา ฟอร์ทน๊อกซ์ เคนตั๊กกี้ สหรัฐอเมริกา วิทยาลัยกองทัพบก และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่นที่ 9
      พลเอก เปรม เริ่มรับราชการในตำแหน่งผู้บังคับหมวด ที่กรมรถรบ จากนั้นมีความ เจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการมาตามลำดับ กล่าวคือ ปี 2502 ได้เลื่อนยศเป็นพันเอก ในตำแหน่ง รองผู้บัญชาการโรงเรียนยานเกราะ ปี 2506 ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า เลื่อนยศเป็นพลตรีในตำแหน่งผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้าและเป็นรอง แม่ทัพภาคที่ 2 ในปี 2516 ได้เป็นแม่ทัพภาคที่ 2 ในปี 2517 เลื่อนยศเป็นพลเอกในตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ในปี 2520 และดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ในปี 2521
พลเอก เปรม เข้ามามีบทบาททางการเมือง โดยได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาร่าง รัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2502 เป็นวุฒิสมาชิก ในปี 2511 และเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อปี 2516 พลเอก เปรม เข้าร่วมรัฐบาลของพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ โดยดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยและสมาชิกสภาปฏิรูป ในปี 2520และ รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงกลาโหม ในปี 2522
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อจาก พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2523 ตลอดระยะเวลาที่บริหารประเทศได้มีผลงานสำคัญมากมาย เช่น การปรับปรุงประมวลกฎหมายรัษฎากรและกฎหมายสรรพสินค้า เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม แก่สังคม การสร้างงานตามโครงการสร้างงานในชนบท (กสช.) การจัดตั้งคณะกรรมการร่วม ภาครัฐบาลและเอกชน (กรอ.) เพื่อส่งเสริมบทบาททางการค้าและการลงทุนของภาคเอกชน ภายในประเทศ การดำเนินการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ภายในประเทศอย่างได้ผล โดยนำนโยบายการใช้ "การเมืองนำการทหาร" ตามคำสั่งนโยบายที่ 66/2523 เป็นผลให้พรรค คอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยอ่อนกำลังลงและสลายตัวไปในที่สุด
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้บริหารประเทศมาจนถึงวันที่ 28 เมษายน 2531 ก็ตัดสินใจยุบสภาอันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ทางการเมือง และกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2531 พร้อมทั้งยุติบทบาททางการเมือง ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้เป็นองคมนตรีเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2531 และยังได้รับการยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษด้วย ในปัจจุบันได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นประธานองคมนตรีแทนนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2541





นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 17

พลเอกชาติชาย ชุณหวัณห์
สมัยที่ 1     4 สิงหาคม 2531 -   9 ธันวาคม 2533
สมัยที่ 2     9 ธันวาคม 2533 - 23 กุมภาพันธ์ 2534
ประวัติ       พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2463 ที่ตำบลพลับพลาไชย จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของจอมพล ผิน ชุณหะวัณ กับคุณหญิง วิบูลย์ลักษม์ ชุณหะวัณ สมรสกับท่านผู้หญิงบุญเรือน ชุณหะวัณ (โสพจน์) พลเอก ชาติชาย เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายทหารม้า และโรงเรียนยานเกราะกองทัพบก (อาร์เมอร์สคูล) มลรัฐเคนตั๊กกี้ สหรัฐอเมริกา พลเอก ชาติชาย รับราชการครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2483 ในตำแหน่งผู้บังคับหมวด กองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ ผู้บังคับกองร้อย กองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ ประจำกรมเสนาธิการทหารบก ต่อมาในปี พ.ศ. 2492 ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งรองผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารบก ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา และกลับมาเป็นผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ รองผู้บังคับการโรงเรียนยานเกราะ และผู้บังคับการกรมทหารม้าที่ 2 และผู้บังคับการโรงเรียนยานเกราะ ในปี พ.ศ. 2501 ได้ถูกเหตุการณ์ทางการเมืองผันแปรชีวิตไปเป็นอุปทูตอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม เอกอัครราชทูตวิสามัญ ผู้มีอำนาจเต็มประจำประเทศอาร์เจนตินา และเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำประเทศออสเตรีย ตุรกี สำนักวาติกัน และเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรประจำองค์การสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา ตามลำดับ ในปี พ.ศ. 2515 พลเอก ชาติชาย ได้กลับมายังประเทศไทย และเข้าดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการเมือง กระทรวงการต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2518
พลเอก ชาติชาย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา และต่อมาได้รับเลือกตั้งติดต่อกันมารวม 5 สมัย พลเอก ชาติชาย เริ่มบทบาททางการเมืองในรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร โดยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และได้เข้าร่วมรัฐบาลอีกหลายสมัยในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และรองนายกรัฐมนตรี พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 17 ของประเทศไทยในปี 2531 เมื่อพรรค ชาติไทยที่พลเอก ชาติชาย เป็นหัวหน้าพรรคอยู่ในขณะนั้นเข้าจัดตั้งรัฐบาล ผลงานสำคัญของรัฐบาลในช่วงที่พลเอก ชาติชาย เข้าบริหารประเทศ ได้แก่ การดำเนินนโยบายต่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอินโดจีน โดยการเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า รวมทั้งดำเนินการประสานงานให้มีการเจรจาร่วมระหว่างเขมร 4 ฝ่าย เพื่อยุติการสู้รบ และการจัดตั้งรัฐบาลภายใต้การนำของสีหนุขึ้น ทางด้านเศรษฐกิจได้อนุมัติโครงการเพื่อให้เอกชนเข้ามาลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลายโครงการ ได้แก่ โครงการขยายบริการโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมาย โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ โครงการก่อสร้างทางรถไฟยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร โครงการทางด่วนยกระดับ และโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ บริหารประเทศจนถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 ก็ถูกยึดอำนาจการปกครองโดย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ภายใต้การนำของพลเอก สุนทร คงสมพงษ์ พลเอกสุจินดา คราประยูร พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล และพลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี พลเอกชาติชายได้เดินทางไปพำนักอยู่ในประเทศอังกฤษระยะหนึ่ง และได้เดินทางกลับมาพำนักอยู่ในประเทศไทย ต่อมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดนครราชสีมา ในการเลือกตั้งทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2535 โดยสังกัด พรรคชาติพัฒนา ในตำแหน่งหัวหน้าพรรค และบทบาททางการเมืองมาโดยตลอด พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ได้ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2541 ณ โรงพยาบาลคอมเวลล์ ประเทศอังกฤษ รวมอายุได้ 78 ปี



นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 18

นายอานันท์ ปันยารชุน
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
สมัยที่  1      2 มีนาคม 2534 - 22 มีนาคม 2535
สมัยที่   2  10 มิถุนายน 2535 - 22 กันยายน 2535
ประวัติ
      นายอานันท์ ปันยารชุน เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2475 เข้ารับการศึกษาระดับมัธยมที่ กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลายที่ดัลลิช คอลเลจ ประเทศอังกฤษ และศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้ปริญญาตรี(เกียรตินิยม) สาขากฎหมาย ในปี 2498 เข้ารับราชการในกระทรวงการต่างประเทศในปี 2498 ระหว่างปี 2502 - 2507 เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้รับตำแหน่งเลขานุการเอกคณะทูตถาวร แห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ในปี 2507 และต่อมาในปี 2510 ได้รับ การแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำสหประชาชาติ และเอกอัครราชทูตประจำประเทศแคนาดา จนถึงปี 2515 ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเอกอัครราชทูตประจำสหรัฐอเมริกาและผู้แทนถาวร แห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ตั้งแต่ปี 2515 - 2518 นายอานันท์ ได้กลับมารับตำแหน่งปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อปี 2519 และ ตำแหน่งสุดท้ายทางราชการคือ เอกอัครราชทูตประจำสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ระหว่างปี 2520 - 2521 นายอานันท์ลาออกจากกระทรวงการต่างประเทศในปี 2522 และเข้าร่วมงานกับ กลุ่มบริษัทสหยูเนี่ยน จำกัด นายอานันท์ได้รับตำแหน่งอุปนายกสมาคม
อุตสาหกรรมไทยตั้งแต่ปี 2523 เมื่อสมาคมอุตสาหกรรมไทยยกฐานะขึ้นเป็นสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในปลายปี 2530 นายอานันท์ก็ได้รับเลือกตั้งเป็นรองประธานสภาฯ และในเดือนเมษายน 2533 ได้รับเลือกตั้ง เป็นประธานสภาฯ ดำรงตำแหน่งตามวาระเป็นเวลา 2 ปี นายอานันท์ ดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรีหอการค้าและอุตสาหกรรมอาเชียน ระหว่างปี 2525 - 2527 และระหว่างปี 2525 -2526 เป็นประธาน ASEAN Task Force ในเรื่องความร่วมมือของอาเซียนอันประกอบด้วยบุคคล 15 คน จากทั้งภาครัฐบาลและ ภาคเอกชน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐบาลอาเซียนระหว่างเดือนพฤษภาคม 2529 ถึง มกราคม 2534 เป็นประธานฝ่ายอาเซียนในคณะมนตรีอาเซียนสหรัฐอเมริกา นายอานันท์ เป็นกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิของสภาสถาบันบัณฑิตพัฒน- บริหารศาสตร์ กรรมการสภาสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กรรมการสำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกรรมการสภาที่ปรึกษาสถาบันบัณฑิต- บริหารธุรกิจศศินทร์ กรรมการสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการสถาบัน เทคโนโลยี แห่งเอเชีย (เอ.ไอ.ที) และกรรมการศูนย์การแลกเปลี่ยนทางเทคโนโลยี สหรัฐ - อาเซียน ในเดือนตุลาคม 2533 ได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการ The World Management Council (CLOS) และในเดือนมกราคม 2534 รับเป็นกรรมการ The Business Council for Sustainable Development (BCSD) นายอานันท์ ปันยารชุน ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร บริษัท สหยูเนี่ยน จำกัด ระหว่างปี 2528 - 2533 และได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการบริษัท สหยูเนี่ยน จำกัด ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2534 ในวันที่ 2 มีนาคม 2534 นายอานันท์ ปันยารชุน ได้รับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทยลำดับที่ 18 รัฐบาลซึ่งมี นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีได้สร้างผลงานที่สำคัญ ไว้หลายประการ คือ การปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน การปรับปรุงประสิทธิภาพ ระบบข้าราชการ การริเริ่มที่จะจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน การส่งเสริมตลาดทุน การส่งเสริม การแข่งขันโดย เสรีในอุตสาหกรรมนโยบายการค้าเสรีภายใต้การแข่งขันอย่างเป็นธรรม การนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทนภาษีการค้า การปรับปรุง การสรรพสามิตให้สอดคล้องกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม การให้เอกชนเข้ามามีบทบาทในการพัฒนารัฐวิสาหกิจมากขึ้น การเป็นเจ้าภาพ การประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ครั้ง 46 ประจำปี 2534 การพัฒนาชนบท การพัฒนาการเกษตรและการปฏิรูปที่ดิน การเร่งรัดโครงสร้างพื้นฐาน ด้านโทรศัพท์และโทรคมนาคม การปรับปรุงท่าอากาศยานกรุงเทพแห่งที่ 2 การดำเนินการขยาย โอกาสทางการศึกษา การพัฒนาระบบอุดมศึกษาให้มีความเป็นอิสระและคล่องตัว การแยก รัฐวิสาหกิจออกจากกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนา สิ่งแวดล้อม การสำรวจผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพ
การใช้พลังงานภารกิจที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2535 โดยได้ริเริ่มจัดตั้ง องค์กรกลางเพื่อสอดส่องดูแลการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรมมากขึ้น นายอานันท์ ปันยารชุน พันจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2535 เมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2535 และต่อจากนั้นได้รักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจวบจนกระทั่ง พลเอก สุจินดา คราประยูร และคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ได้เริ่มปฏิบัติงาน เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2535 ต่อมาเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2535 พลเอก สุจินดา คราประยูร ได้ลาออก จากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองและเหตุการณ์ไม่สงบ ภายในประเทศ จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นายอานันท์ ปันยารชุน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2535 เพื่อแก้ปัญหา ของบ้านเมืองและบริหารราชการมาจนกระทั่งมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่ว ประเทศในวันที่ 13 กันยายน 2535 และพ้นจากตำแหน่งไปตามวาระ เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2535 เนื่องจากมีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ในวันที่ 23 กันยายน 2535 หลังจากนั้น นายอานันท์ ปันยารชุน ได้หวนกลับคืนสู่ภาคธุรกิจอีกครั้ง ในด้านการปฏิรูปการเมืองนั้น นายอานันท์ ปันยารชุน ได้มีบทบาทสำคัญในการ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และด้วยความมุ่งมั่น ทุ่มเท ในการรณรงค์ส่งเสริมประชาธิปไตยและการปราบปรามการคอร์รัปชั่นมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ท่านได้รับรางวัลแม็กไซไซ สาขารัฐบริการ จากมูลนิธิรางวัลรามอนแม็กไซไซ และ ยังได้รับรางวัล "บุคคลแห่งปี ประจำปี 2540" อีกด้วย




นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 19

พลเอกสุจินดา คราประยูร
สมัยที่ 1   7 เมษายน 2535 - 9 มิถุนายน 2535
     พลเอก สุจินดา คราประยูร เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2476 เวลาประมาณ 03.35 น. ที่จังหวัดนครปฐม เป็นบุตรของนายจวง กับนางสมพงษ์ คราประยูร สมรสกับคุณหญิงวรรณี คราประยูร (หนุนภักดี)พลเอก สุจินดา จบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนวัดราชบพิธแล้วได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนอำนวยศิลป์จนจบมัธยมปีที่ 8 สอบเข้าเรียนเตรียมแพทย์ที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียนได้เพียงปีเดียวจึงไปสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร และเข้าเรียนต่อโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า หลักสูตรเวสท์ปอยต์รุ่นที่ 5 ตามลำดับ และได้จบหลักสูตรผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่จากฟอร์ทซิลส์ รัฐโอคลาโฮม่า สหรัฐอเมริกา สำเร็จหลักสูตรเสนาธิการทหารบกรุ่นที่ 44 เป็นอันดับที่ 1 สำเร็จการศึกษาหลักสูตรเสนาธิการทหารบกสหรัฐอเมริกาจากฟอร์ดลีเวนเวิร์ธพลเอก สุจินดา เริ่มเข้ารับราชการทหารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 ได้รับพระราชทานยศว่าที่ร้อยตรี เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2501 ดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองร้อย กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 21 และก้าวหน้าในหน้าที่ราชการในตำแหน่งอาจารย์โรงเรียนเสนาธิการทหารบกเจ้ากรมยุทธการทหารบก ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายยุทธการ รองเสนาธิการ ทหารบก ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก รองผู้บัญชาการทหารบก และวันที่ 29 เมษายน 2533 ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก จนเมื่อถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2534 จึงได้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดอีกตำแหน่งหนึ่ง ต่อจากพลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ที่เกษียณอายุพลเอก สุจินดา เป็นบุคคลสำคัญในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติที่เข้ายึดอำนาจการปกครองจากพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 จนกระทั่งหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 22
มีนาคม 2535 พรรคการเมือง 5 พรรค คือ พรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย และพรรคราษฎร ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลและสนับสนุนให้พลเอก สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรีพลเอก สุจินดา คราประยูร ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2535 เมื่อเข้าดำรงตำแหน่ง พลเอก สุจินดา ได้ถูกคัดค้านจากกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองหลายกลุ่ม จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ไม่สงบภายในประเทศขึ้น พลเอก สุจินดา จึงลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2535 เพื่อให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไปโดยอิสระและเพื่อแสดงความรับผิดชอบทางการเมือง อย่างไรก็ตาม นายมีชัย ฤชุพันธ์ รองนายกรัฐมนตรีได้ทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรีไทยเป็นการชั่วคราว จนกระทั่งมีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในวันที่ 10 มิถุนายน 2535คณะรัฐมนตรี คณะที่ 48 ของรัฐบาลพลเอก สุจินดา คราประยูร จึงพ้นจากตำแหน่งไปตามวาระ




  นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 20

  นายชวน หลีกภัย
สมัยที่ 1 :  23 กันยายน 2535 - 12 กรกฎาคม 2538
สมัยที่ 2 :    9 พฤศจิกายน 2540 - 17 พฤศจิกายน 2543
      นายชวน หลีกภัย เกิดเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2481 ที่ตำบลท้ายพรุ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง จบการศึกษาระดับมัธยมปลายที่โรงเรียนตรังวิทยา จังหวัดตรัง แล้วเข้าศึกษาต่อ ที่โรงเรียนศิลปศึกษาแผนก จิตรกรรมและประติมากรรม (เตรียมหาวิทยาลัยศิลปากร) และได้ สมัครเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ สำเร็จเป็นนิติศาสตร์บัณฑิต เมื่อปี 2505 และสอบได้เนติบัณฑิตไทย ในสมัยที่ 17 ได้รับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปี 2528 และดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย รามคำแหง ปี 2530 นายชวน หลีกภัย เริ่มงานอาชีพทนายความที่สำนักงานทนายความ ช.ชนะสงคราม หลังสำเร็จการศึกษาและเบนเข็มมาสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จังหวัดตรัง เมื่อปี 2512 ได้รับเลือกตลอดมาจนปัจจุบัน รวม 11 สมัย คือปี 2512, 2518, 2519, 2522, 2526, 2529, 2531, 2535 (2สมัย), 2538, 2539 ในงานการเมืองเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีและประธานสภาผู้แทนราษฎร เริ่มด้วยตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรมในปี 2518 รัฐมนตรีประจำ สำนักนายกรัฐมนตรี ปี 2519 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ปี 2523 รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพาณิชย์ ปี 2524 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี 2525 - 2526 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปี 2526 - 2529 ประธานสภาผู้แทนราษฎร ปี 2529 - 2531 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปี 2531 - 2532 รองนายกรัฐมนตรี ปี 2532 - 2533 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี 2533 นอกจากตำแหน่งทางการเมือง นายชวน หลีกภัย ยังเข้ารับตำแหน่งอื่น ๆ อีกดังนี้ เป็นอุป
นายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์อาจารย์พิเศษแผนกนิติเวช คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2535 พรรคการเมือง 5 พรรค อันประกอบด้วยพรรคประชาธิปัตย์ พรรคความหวังใหม่ พรรคพลังธรรม พรรคกิจสังคม และพรรคเอกภาพ ได้ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลและสนับสนุนให้นายชวน หลีกภัย ขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย ได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 20 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2535 การดำเนินการตามนโยบายที่สำคัญที่รัฐบาลนี้ เน้นเป็นพิเศษ(ในช่วงนั้น) ได้แก่ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ การกระจาย ความเจริญไปสู่ภูมิภาคและชนบท ซึ่งเน้นการกระจายรายได้ กระจายโอกาสและกระจายอำนาจ ในการปกครองตนเองให้กับท้องถิ่น อย่างไรก็ตามการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล ซึ่งมีนายชวน หลีกภัยเป็นนายกรัฐมนตรีในช่วงปี 2535 ถึงกลางปี 2538 โดยเฉพาะในประเด็น เรื่องของการดำเนินการตามนโยบายจัดหาที่ดินทำกินให้กับราษฎร ให้เฉพาะกรณีการออก เอกสารสิทธิที่เรียกว่า ส.ป.ก. 4 - 01 ปัญหานี้กลายเป็นประเด็นที่ทำให้รัฐบาลถูกวิพากษ์วิจารณ์ อย่างมาก จนในที่สุด ได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2538 และกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กรกฎาคม 2538 ผลการเลือกตั้งครั้งนั้น นายบรรหาร ศิลปอาชา ในฐานะที่เป็นห้วหน้าพรรคการเมืองที่มีสมาชิกของพรรคได้รับเลือกตั้ง มากที่สุด ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ต่อมาเมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง ในสมัยนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อปลายปี 2539 พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี คนต่อไป จนกระทั้งเกิดวิกฤติการณ์ด้านเศรษฐกิจ ทำให้พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ต้องประกาศ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้รัฐบาลของพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ สิ้นสภาพลงด้วย นายชวน หลีกภัย ในฐานะที่ได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร จึงได้รับ การเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรีแทน โดยได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2540 ถือได้ว่าเป็นนายกรัฐมนตรี ที่มาจากการเลือกตั้งคนแรกของประเทศไทยที่ได้กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นสมัยที่ 2 ความเป็นนายกรัฐมนตรีของ นายชวน หลีกภัย สิ้นสุดลง เนื่องจากมีพระบรมราชโองการ ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๓




นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 21

นายบรรหาร ศิลปะอาชา
สมัยที่ 1  :13 กรกฎาคม 2538 - 24 พฤศจิกายน 2539
      ประวัติ นายบรรหาร ศิลปอาชา เกิดเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2475 สำเร็จการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิต (กฎหมายมหาชน) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และได้รับนิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อปี 2517 ได้เป็น สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปี 2518 เป็นสมาชิกวุฒิสภา และได้เริ่มเข้าสู่วงการเมืองครั้งแรก เมื่อปี 2519 โดบได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาทุกสมัยที่มีการเลือกตั้ง และได้รับ แต่งตั้ง ให้เป็นรัฐมนตรีหลายกระทรวงได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อปี 2529 - 2531 รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มื่อปี 2531 - 2533 รัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทย เมื่อปี 2533 รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อปี 2533 - 2534 รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม เมื่อปี 2535 ในปี 2537 ได้เป็นหัวหน้าพรรคชาติไทย และเป็นผู้นำฝ่ายค้าน ในสภาผู้แทนราษฎรสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี และเมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกา ยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2538 และมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ นายบรรหาร ศิลปอาชา ในฐานะที่เป็นหัวหน้าพรรค ชาติไทย ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่มีสมาชิกของ พรรคได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร เป็นจำนวนมากที่สุด ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล การดำเนินงานที่สำคัญของรัฐบาล ขณะนั้น ได้แก่ การจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี การจัดพระราชพิธีกาญจนาภิเษก การนำประกาศเข้าสู่เวที ประชาคมโลก ในโอกาสสำคัญต่าง ๆ เช่น การเข้าร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยพิเศษ ในโอกาส ครบรอบ 50 ปี สหประชาชาติ การที่ประเทศ
ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอด อาเซียนครั้งที่ 5 การเป็นเจ้าภาพ จัดการประชุมผู้นำเอเชีย - ยุโรป (ASEM) นอกจากนี้ยังมีการ จัดงานแสดงเกษตรและอุตสาหกรรมโลก 2538 (WORLDTECH ‘95 THAILAND) และการ จัดการเข้าแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 18 ที่จังหวัดเชียงใหม่ การบริหารราชการแผ่นดินของนายบรรหาร ศิลปอาชา ดำเนินไปปีเศษ ความไม่ ราบรื่นเกิดขึ้น จึงได้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2539 รัฐบาลซึ่งมี นายบรรหาร ศิลปอาชาเป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้พ้นวาระไป



นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 22

พลเอกเชาวลิต ยงใจยุทธ
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
สมัยที่ 1 :  25 พฤศจิกายน 2539 - 8 พฤศจิกายน 2540
ประวัติ
     พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2475 ที่กรุงเทพมหานคร จบการศึกษามัธยมปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อ ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า สำเร็จการศึกษาเมื่อปี 2492 หลังจากนั้นได้เข้ารับการศึกษาอบรม หลักสูตรต่าง หลายหลักสูตร มาตามลำดับ ที่เข้าศึกษาได้แก่ โรงเรียนสื่อสารกองทัพบก ฟอร์ตบอนมัธ ประเทศสหรัฐอเมริกา กองทัพน้อยที่ 9 เกาะริวกิว โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น โรงเรียนทหารสื่อสาร ในประเทศไทย โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ทั้งในประเทศและที่ประเทศสหรัฐอเมริกา หลักสูตร กระโดดร่ม นายทหารชั้นผู้ใหญ่ หลักสูตร NOVICE ได้รับเครื่องหมายแสดงความสามารถในการ กระโดดร่ม จากกองทัพบกสหรัฐอเมริกา และในปี 2530 มหาวิทยาลัยเปปเปอร์ไดน์ สหรัฐอเมริกา ได้ประกาศเกียรติคุณและมอบปริญญาบัตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขานิติศาสตร์ และมหาวิทยาลัย ศรีนครินทร์วิโรฒ บัณฑิตวิทยาลัย ประกาศเกียรติคุณและมอบปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เริ่มรับราชการทหารในตำแหน่งว่าที่ร้อยตรี เมื่อปี 2497 ในปี 2506 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองร้อยซ่อมบำรุงเครื่องสื่อสาร เขตหลังกรมการทหารสื่อสาร ปี 2514 เป็นหัวหน้ากองกรมยุทธการทหารบก และในปี 2523 ขึ้นเป็นเจ้ากรมยุทธการทหารบก ในปี 2528 ได้เลื่อน เป็นเสนาธิการทหารบก และเป็นผู้บัญชาการทหารบกในปี 2529 จนกระทั่งในปี 2530 ได้รับแต่งตั้ง
ให้รักษาราชการผู้บัญชาการทหารสูงสุด อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ได้ลาออกจากราชการมาทำงานการเมือง ในตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในสมัย พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2533 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปี 2535 - 2537 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ปี 2538 - 2539 ปลายปี 2539 ได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2539 เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2539 รัฐบาลขณะนั้นซึ่งมีนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้กลายเป็นรัฐบาลรักษาการและได้จัดให้มีการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 ผลการเลือกตั้งครั้งนั้น พรรคความหวังใหม่ ซึ่งมีพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นหัวหน้าพรรค มีสมาชิกพรรคได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร เป็นจำนวนมากที่สุด ซึ่งได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลผสม 6 พรรค ประกอบด้วย พรรคความหวังใหม่ พรรคชาติพัฒนา พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย พรรคเสรีธรรม และพรรคมวลชน พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คนที่ 22 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2539 ในช่วงที่ดำรงตำแหน่ง มีกระแสความไม่พอใจการบริหารราชการแผ่นดิน ในภาวะที่เศรษฐกิจของประเทศเริ่มมีปัญหารุนแรงขึ้น และมีการ เรียกร้องให้พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่งใ นที่สุด พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ก็ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2540




   นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 23

พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
สมัยที่ 1 : 9 กุมภาพันธ์ 2544 - 9 มีนาคม 2548
สมัยที่ 2 : 11 มีนาคม 2548 - 19 กันยายน 2549
ประวัติ
     วันเกิด 26 กรกฏาคม 2492 ที่ จังหวัดเชียงใหม่ สัญชาติ ไทย ศาสนา พุทธ
การศึกษา โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ อุดมศึกษา - พ.ศ. 2512 โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 10 - พ.ศ. 2516 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 26 โดยสอบได้คะแนน เป็นที่ 1 ปริญญาโท - ได้รับทุนรัฐบาล (ทุน ก.พ.) Eastern Kentucky University สหรัฐอเมริกา สาขา Criminal Justice ปริญญาเอก - Sam Houston State University สหรัฐอเมริกา สาขา Criminal Justice
ประวัติการทำงาน พ.ศ. 2541 - 2543 ก่อตั้งพรรคไทยรักไทยและดำรงตำแหน่ง หัวหน้าพรรคไทยรักไทย พ.ศ. 2539 - 2540 ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี (ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ) - เข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบงานด้านจราจร (ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี บรรหาร ศิลปอาชา) - เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังธรรม พ.ศ. 2537 - 2538 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศ พ.ศ. 2530 - 2537 ลาออกจากราชการเพื่อประกอบธุรกิจส่วนตัว ประธานกรรมการ บริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ จำกัด พ.ศ. 2516 - 2530 รองผู้กำกับการนโยบายและแผนงาน/ กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจนครบาล
บทบาททางสังคม : รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ทรง คุณวุฒิสภามหาวิทยาลัย 6 แห่ คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ เป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิไทยคม และ เป็นผู้ริเริ่มแนวความคิดที่จะนำ ดาวเทียมสื่อสาร "ไทยคม" มาใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษา ผ่านดาวเทียม เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กชนบทผู้ยากไร้ที่ไม่สามารถ เรียนต่อ ได้มีโอกาสเรียนต่อในท้องถิ่นของตนเอง ทั้งนี้โดยได้ รับความร่วมมือจากกรม การศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการอำนวยการ สถาบันเอเชียการศึกษา ปี 2538 - ปัจจุบัน - กรรมการสภาที่ปรึกษา สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - กรรมการที่ปรึกษา BANGKOK CLUB - กรรมการอำนวยการ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รางวัลเกียรติคุณ : 2539 - ได้รับรางวัล "Outstanding Criminal Justice Alumnus Awards" จาก Criminal Justice Center, Sam Houston State University และได้รับรางวัล "Distinguished Alumni Award" จากมหาวิทยาลัยเดียวกัน เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2539 2538 - ได้รับคัดเลือกไปเป็น 1 ใน 3 คนไทยดีเด่นซึ่งมีบทบาท สำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทย และฟิลิปปินส์ เข้ารับรางวัลจากสถานฑูตฟิลิปปินส์ 2537 - ได้รับรางวัล "บุคคลดีเด่นผู้พัฒนาโทรคมนาคมเพื่อ สังคมของประเทศไทย ประจำปี 2536" จากสมาคมโทรคมนาคม แห่งประเทศไทย - ได้รับยกย่องจากหนังสือพิมพ์ Singapore Business Times ให้ เป็น 1 ใน 12 นักธุรกิจผู้นำของเอเชีย - ได้รับคัดเลือกจากนิตยสาร Financial World ที่มีชื่อเสียงของ สหรัฐอเมริกาให้เป็นหนึ่งใน Asian CEO of the Year ได้รับ พระราชทานปริญญา วารสารศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - ได้รับคัดเลือกให้เป็นคนไทยคนแรกและเป็นบุคคลที่ 3 ที่ ได้รับทุน " Lee Kuan Yew Exchange Fellowship " จากประเทศสิงคโปร์ 2535 - ได้รับรางวัล "1992 Asean Business Man of the Year" จาก Asean Institute ประเทศอินโดนีเซีย - ได้รับรางวัล "เกียรติยศจักรดาว" ด้านพัฒนาเศรษฐกิจจาก คณะกรรมการมูลนิธิโรงเรียนเตรียมทหาร



   นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 24

พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
สมัยที่ 1 :  1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 29 มกราคม พ.ศ. 2551
ประวัติ      วันเกิด 28 สิงหาคม 2486 สถานภาพ สมรสกับ พ.อ.หญิง คุณหญิง จิตรวดี จุลานนท์ (สกุลเดิม "สันทัดเวช")
การศึกษาโรงเรียนเซนต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์
โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
โรงเรียนเตรียมทหารรุ่น 1
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 12
- โรงเรียนศูนย์การทหารราบ
- โรงเรียนเสนาธิการทหารบก สหรัฐอเมริกา
- หลักสูตรการบริหารทรัพยากร กระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 36 (2536)
ประวัติการทำงาน พ.ศ. 2508 ประจำศูนย์การทหารราบ
พ.ศ. 2509 ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองพันทหารราบที่ 1 กรมผสมที่ 31
พ.ศ. 2513 ผู้บังคับชุดปฏิบัติการ กองร้อยรพิเศษ กองรบพิเศษ (พลร่ม) ที่ 2
พ.ศ. 2515 ครูโรงเรียนสงครามพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ
พ.ศ. 2521 ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 4 กรมผสมที่ 23
พ.ศ. 2526 ผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 1 กองพลรบพิเศษที่ 1
พ.ศ. 2532 ผู้บัญชาการกองรบพิเศษที่ 1
พ.ศ. 2535 ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
พ.ศ. 2537 แม่ทัพภาคที่ 2
พ.ศ. 2540 ที่ปรึกษาพิเศษ กองทัพบก
พ.ศ. 2540 ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก
พ.ศ. 2541–2545 ผู้บัญชาการทหารบก
พ.ศ. 2545–2546 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี
พ.ศ. 2546 กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล
ตำแหน่งพิเศษ : พ.ศ. 2526 ราชองค์รักษ์เวร
นายทหารคนสนิท นายกรัฐมนตรี (พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์)
พ.ศ. 2531 นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2535 และ 2539 สมาชิกวุฒิสภา ครั้งที่ 1 และ 2
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกล้าหาญ :
พ.ศ. 2517 เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1
พ.ศ. 2533 เหรียญกล้าหาญ รามาธิบดี (รามมาลา) พ.ศ. 2535 มหาวชิรมงกุฏ
พ.ศ. 2538 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2539 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
พ.ศ. 2544 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ




  นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 25

นายสมัคร สุนทรเวช
สมัยที่ 1 :  29 มกราคม 2551 - 9 กันยายน 2551
      นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ก่อตั้งพรรคประชากรไทย เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นนักการเมืองเก่าแก่ ที่มีเสียงพูด และลีลาการพูดเป็นเอกลักษณ์ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญมามากมาย เช่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (2 สมัย) มีชื่อเรียกจากสื่อมวลชนทั่วไปว่า "น้าหมัก" "ลุงหมัก " หรือ "ชมพู่ " (มาจากลักษณะจมูกของนายสมัคร) เป็นต้น "นายสมัคร สุนทรเวช" เป็นบุตรของ เสวกเอก พระยาบำรุงราชบริพาร ( เสมียน สุนทรเวช ) กับ คุณหญิงบำรุงราชบริพาร ( อำพัน จิตรกร ) เป็นหลานลุงของ มหาเสวกตรี พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี ( สุ่น สุนทรเวช ) นายแพทย์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นหลานตาของ มหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตรกร ( จันทร์ จิตรกร ) จิตรกรประจำสำนัก โดยเป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 6 คน นายสมัครเริ่มทำงานหลังจบนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เป็นสื่อมวลชนสายการเมือง โดยเขียนบทความ และความคิดเห็น ทางการเมืองแบบไม่ประจำใน หนังสือพิมพ์สยามรัฐ, สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ และชาวกรุง ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 จนถึง 2516 เขียนบทความ การเมืองในหนังสือพิมพ์ประชาไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2517 จนถึง 2520 และเขียนบทความในคอลัมน์ประจำ "มุมน้ำเงิน" หนังสือพิมพ์เดลิมิเร่อร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2521 จนถึง 2537 ข้ามจากการเป็นสื่ออย่างเดียว มาเริ่มต้นชีวิตการเมืองโดยเข้าเป็นสมาชิก พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ปี 2511 ลงสมัครตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนขึ้นถึงระดับชาติ เริ่มลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาเทศบาลกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2514 และลง
สมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2518 ในชีวิตการเมืองเคยดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง จนมามีบทบาทโดดเด่นช่วงปี 2519 จากการจัดรายการสถานีวิทยุยานเกราะที่มีเนื้อหาโจมตีบทบาทของ ขบวนการนักศึกษาในสมัยนั้น พร้อมทั้งปลุกระดมมวลชนให้เกลียดชังขบวนการนักศึกษา และ เป็นศูนย์กลางประสานงาน ถ่ายทอดกำหนดการ และคำสั่งเคลื่อนไหวของกลุ่มต่อต้านนักศึกษาใน เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เมื่อสิ้นสุดเหตุการณ์ ในปี พ.ศ. 2519 นายสมัครได้เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่ออายุเพียง 41 ปี พร้อมๆ กับการลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ และในปี พ.ศ. 2522 ได้ก่อตั้ง พรรคประชากรไทย และดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรค มีฐานคะแนนเสียงหลักในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะในเขตที่มีหน่วยทหารตั้งอยู่หนาแน่น หลังจากลงจากตำแหน่งผู้ว่าฯ นายสมัคร ก็วางมือจากการเมืองไปพักหนึ่ง โดยหันไปทำรายการอาหาร แต่ก็ยังมีการวิพากษ์วิจารณ์การเมืองผ่านสื่อโทรทัศน์และวิทยุอยู่ จนกระทั่งตัดสินใจหวนเข้าสู่เส้นทางการเมืองอีกครั้งในการเลือกตั้งปี 2550 ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชาชน และสามารถรวบรวมเสียงข้างมากจนจัดตั้งรัฐบาลพรรคร่วมได้สำเร็จ โดยในวันที่ 28 มกราคม นายสมัครได้รับคะแนนโหวต 310 เสียง ได้เป็นนายกรัฐมนตรี




นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 26

  นายสมชาย วงสวัสดิ์
สมัยที่ 1 :  18 กันยายน พ.ศ. 2551 - 2 ธันวาคม 2551
     นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2490
- รองนายกรัฐมนตรี
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน
ครอบครัว - สมรสกับ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ มีบุตร 3 คน
1. นายยศธนัน วงศ์สวัสดิ์
2. นางสาวชินณิชา วงศ์สวัสดิ์
3. นางสาวชยาภา วงศ์สวัสดิ์
ประวัติการศึกษา
- ปี 2513 นิติศาสตร์บัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ปี 2516 เนติบัณฑิตไทย (นบท.) สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
- ปี 2539 ปริญญาบัตร หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 38
- ปี 2545 รัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต หลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ประวัติการทำงาน (รวมประสบการณ์การทำงานทางการเมือง) - ปัจจุบัน รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน
กรรมการเนติบัณฑิตไทยสภาในพระบรมราชูปถัมภ์
- มี.ค.-ก.ย.49 ปลัดกระทรวงแรงงาน
- พ.ย.42-มี.ค.49 ปลัดกระทรวงยุติธรรม
- ปี 2541 รองปลัดกระทรวงยุติธรรม
- ปี 2540 ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 2
- ปี 2536 ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3
- ปี 2533 ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญาธนบุรี
- ปี 2532 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนนทบุรี
- ปี 2531 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดชลบุรี
- ปี 2530 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดระยอง
- ปี 2529 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพังงา
- ปี 2526 ผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงราย
- ปี 2520 ผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงใหม่
- ปี 2519 ผู้พิพากษาศาลแขวงเชียงใหม่
- ปี 2518 ผู้พิพากษาประจำกระทรวง
- ปี 2517 ผู้ช่วยผู้พิพากษา กระทรวงยุติธรรม
- ปี 42- 49 ประธานกรรมการ สภาวิจัยแห่งชาติสาขานิติศาสตร์
ประธานการมการ ตรวจสอบทรัพย์สินผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ
กรรมการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
กรรมการ บริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
กรรมการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
กรรมการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)
กรรมการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.)
กรรมการ คณะกรรมการกฤษฎีกา
กรรมการ คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.)
กรรมการ คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.)
กรรมการ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.)
กรรมการ คณะกรรมการอัยการ (กอ.)
กรรมการ คณะกรรมการตุลาการ
กรรมการ คณะกรรการข้อมูลข่าวสารแห่งชาติ
กรรมการ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
เครื่องราชย์อิสริยาภรณ์ - ปี 2542 เหรียญจักรพรรติมาลา (จ.ม.ร.)
- ปี 2540 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- ปี 2535 มหาวชิรมงกุฎไทย(ม.ว.ม.)
- ปี 2532 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- ปี 2529 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- ปี 2527 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
- ปี 2523 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)




นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 27

     นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
สมัยที่ 1 : 17 ธันวาคม 2551 - 8 สิงหาคม 2554
     นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีชื่อเล่นว่า "มาร์ค" เกิดวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2507 ที่ เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ บุตรชายคนเดียว ในจำนวนบุตร 3 คน ของ ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กับ ศ.พญ.สดใส เวชชาชีวะ มีพี่สาว คือ ศ.พญ.อลิสา วัชรสินธุ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็กและ น.ส.งามพรรณ เวชชาชีวะ เจ้าของงานเขียน "ความสุขของกะทิ" รางวัลซีไรท์ ประจำปี พ.ศ. 2549 เมื่อ ด.ช.อภิสิทธิ์ มีอายุไม่ถึงหนึ่งปี ครอบครัวเวชชาชีวะได้เดินทางกลับประเทศไทย ด.ช.อภิสิทธิ์ ได้เข้าเรียนระดับอนุบาลที่ โรงเรียนอนุบาลยุคลธรระดับประถมที่ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากนั้นได้ย้ายกลับประเทศอังกฤษเพื่อเข้าเรียนที่ โรงเรียนสเกทคลิฟ และเรียนต่อที่ โรงเรียนมัธยมอีตัน ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำเอกชน ระดับเตรียมอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของ กรุงลอนดอน ได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในสาขาวิชา ปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์ (Philosophy, Politics and Economics, P.P.E.) ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร 3 ปี โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง หลังสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี นายอภิสิทธิ์ได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเขาชะโงก จังหวัดนครนายก เป็นเวลาเกือบ 2 ปี ได้รับพระราชทานยศร้อยตรี ก่อนจะลาออกจากราชการกลับไปศึกษาต่อระดับปริญญาโททางด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดอีกครั้ง เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทแล้ว ได้กลับมาเป็นอาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากนั้นยังได้ศึกษาเพิ่มเติมจนสำเร็จปริญญาตรีนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัย รามคำแหงอีกด้วย ต้นปี พ.ศ. 2549 นายอภิสิทธิ์ได้รับปริญญา นิติศา
สตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง จากการใช้ความรู้ความสามารถด้านกฎหมายปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรัฐมนตรี และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สื่อมวลชนจึงเรียกนายอภิสิทธิ์ว่า "ดร.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ในบางครั้ง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมรสกับ ดร.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คนคือ น.ส.ปราง เวชชาชีวะ (มะปราง) และ ด.ช.ปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ปัณ)



นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 28

  น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

สมัยที่ 1 : 10 สิงหาคม 2554 - ปัจจุบัน
ประวัติยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ชื่อ-นามสกุล : ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
วันเดือนปีเกิด : 21 มิถุนายน 2510
ชื่อเล่น : ปู
บิดา : นายเลิศ ชินวัตร (ถึงแก่กรรม 23 ต.ค.2540 ศาลา 7 วัดมกุฎกษัตริยาราม)
มารดา : นางยินดี ระมิงค์วงศ์ (ถึงแก่กรรม)
คู่สมรส : นายอนุสรณ์ อมรฉัตร
บุตร : ด.ช.ศุภเสกข์ อมรฉัตร (ไปป์)
ถิ่นกำเนิด : จังหวัดเชียงใหม่
สำหรับตัวนายอนุสรณ์ อมรฉัตร สามีของนางสาวยิ่งลักษณ์เองนั้น เคยถูกดึงไปเกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ถูกกล่าวหาว่าเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้องตัวเอง เมื่อครั้งที่บริษัท เอ็ม ลิงก์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด
ซึ่งนายอนุสรณ์ อมรฉัตร เป็นผู้บริหารอยู่ได้ร่วมประมูลโครงการด้านการสื่อสาร และอินดัสเทรียล ปาร์ค ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี พ.ศ.2547-2549 จนทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันหนาหูว่า การประมูลครั้งนั้นไม่โปร่งใส กลับมาที่ประวัติด้านการศึกษาของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เธอร่ำเรียนในสายที่เกี่ยวข้องกับการเมืองมาโดยตรง เพราะจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2531 ก่อนที่จะไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท ในคณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตท ประเทศสหรัฐอเมริกา จนสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ.2533 หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เข้าทำงานในบริษัทชินวัตร ไดเร็กทอรีส์ จำกัด ก่อนจะได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้อำนวยการของ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส จากนั้นได้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอสซี แอสเซท จำกัด อย่างไรก็ตาม หลังจากตระกูลชินวัตร และตระกูลดามาพงศ์ ได้ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ปให้กลุ่มเทมาเส็ก โฮลดิ้ง ของประเทศสิงคโปร์ ก็ทำให้ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลาออกจากตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) แต่ยังคงดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอสซี แอสเซท จำกัด สำหรับเส้นทางสายการเมืองของน้องสาวอดีตนายกรัฐมนตรีคนนี้ ชื่อของเธอปรากฏขึ้นมาครั้งหนึ่งในครั้งที่พรรคพลังประชาชนถูกยุบนำไปสู่การตั้งพรรคเพื่อไทย และ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้พยายามผลักดัน ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย แต่เพราะมีเหตุบางประการทำให้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่ได้เข้ารับตำแหน่งนี้ แต่เธอก็ยังมีบทบาททั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังในพรรคเพื่อไทย จนกระทั่งปัจจุบันพรรคเพื่อไทยซึ่งไร้หัวหน้า (ตัวจริง) เหมือน "เรือขาดหางเสือ" ต้องเร่งหาผู้นำ ดังนั้น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง และ ส.ส.อีกหลายคนในพรรคเพื่อไทย จึงได้เสนอชื่อ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ขึ้นมาเป็นผู้นำพรรคเพื่อไทย สู้กับนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ แคนดิเดตของพรรคเพื่อไทยอีกคน จนทำให้ ส.ส.ในพรรคแตกเป็นสองสายอย่างชัดเจน เนื่องจากมี ส.ส.อีกส่วนสนับสนุนนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์เช่นกัน และภายใต้การนำทีมของ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ที่ได้รับแรงสนับสนุนจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็ส่งให้พรรคเพื่อไทยได้รับคะแนนเสียงอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งในท้ายที่สุดแล้ว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของประเทศไทย และเธอกำลังจะกลายเป็นสุภาพสตรีที่คนไทยและคนทั่วโลกต้องจับตามองอย่างแน่นอน








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น